Trump wins – what does it mean for sustainability?
Green stocks wobbled as Donald Trump won the US presidential election. Here’s what a second Trump term could mean for sustainability.
ในปี 2558 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลก (SDGs) 17 ประการ
เราเชื่อว่าเป้าหมายเหล่านี้เป็นแบบแผนสำหรับการไปสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้นและยั่งยืนมากขึ้นสำหรับทุกคน
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นสิ่งที่จัดการแก้ไขความท้าทายด้านความยั่งยืนระดับโลกที่สำคัญ ซึ่งรวมไปถึงความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม สันติภาพ ความยุติธรรม และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ความท้าทายเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการลงทุนจำนวนมากจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนภายในปี 2573
ช่องว่างในการจัดหาเงินทุนคือความแตกต่างระหว่างระดับของเงินทุนในปัจจุบัน กับจำนวนเงินลงทุนที่ต้องการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 17 ประการ การวิจัยคาดการณ์ไว้ว่าจำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มอีกหลายล้านล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2573
เรามองว่าช่องว่างนี้เป็นโอกาสอันดีให้บริษัทต่าง ๆ เข้าไปแก้ไขความต้องการที่ยังไม่ได้รับการเติมเต็ม ธุรกิจต่าง ๆ สามารถช่วยแก้ปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดที่โลกกำลังเผชิญอยู่
ในมุมมองของเรา บริษัทต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนทางการเงินในระยะยาวที่สูงกว่าได้มากขึ้น หากว่าบริษัทเหล่านั้นสามารถปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจของตนเองให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) บริษัทหลายแห่งจะได้รับผลประโยชน์จากความต้องการที่สูงขึ้นต่อผลิตภัณฑ์ บริการ และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สิ่งเหล่านี้จะส่งผลในแง่บวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
เราขอเสนอ 4 กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งจำแนกตามประเภทสินทรัพย์ ภูมิภาค หรือด้านการรายงาน
องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่วัดผลได้ไม่ถึง 10% ภายในปี 2573 ซึ่งเรามองว่าธุรกิจที่มีนวัตกรรมมากที่สุด แต่ยังขาดแคลนความคืบหน้าด้าน SDGs เช่นนี้ จะก่อให้เกิดตลาดที่มีโอกาสทางธุรกิจมากมายและเป็นบริษัทที่เราต้องการลงทุน
ตลาดเกิดใหม่ (EM) จำเป็นต้องมีเงินลงทุนต่อปีเป็นจำนวนมากกว่า 4.2 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2573 กองทุนของเราจะใช้โอกาสนี้โดยการลงทุนในบริษัทที่มีการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมทางธุรกิจและ/หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทเหล่านั้น
กลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนในหุ้นกู้ที่ "ทำกำไรอย่างมีจุดมุ่งหมาย" ของเราช่วยให้เข้าถึงโอกาสด้านความยั่งยืนในตลาดเกิดใหม่ (EM) พร้อมกับสร้างรายได้โดยมีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกับหุ้น
โอกาสที่มีความหลากหลายมากขึ้น เรามีเป้าหมายที่จะมอบการเติบโตในระยะยาวด้วยการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนทั่วโลก ธุรกิจเหล่านี้ต้องสร้างผลตอบแทนทางการเงินที่น่าดึงดูดใจ และในขณะเดียวกันก็ตั้งใจพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีส่วนสนับสนุนผลลัพธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเชิงบวกที่สามารถวัดผลได้
Introduced by the European Commission (EC) and effective in March 2021, the Sustainable Finance Disclosure Regulation (SFDR) is a disclosure regulation which requires fund managers like abrdn to provide sustainability-related information about the funds they offer. The goal is to ensure investors have the information they need to make investment decisions in line with their sustainability goals and preferences. Articles 8 and 9 of the SFDR respectively prescribe the detailed disclosure requirements for products that promote environmental or social characteristics and products that have sustainable investments as their objective.